โรงเรียนบ้านหนองสีนวล

หมู่ 5 บ้านหนองสีนวล ต.ด่านทับตะโก อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

032 228642

โรงเรียนบ้านหนองสีนวล

นางสาวปัทธะมาพร อันทอง
ผู้อำนวยการ 
โรงเรียนบ้านหนองสีนวล

Previous slide
Next slide

ประวัติ โรงเรียนบ้านหนองสีนวล

โรงเรียนบ้านหนองสีนวล ชื่อโรงเรียน บ้านหนองสีนวล ที่ตั้ง หมู่ ๕ ตำบลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑ e-mail : s๐๘๖@ratchaburi๑.org เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๒ งาน ๒๑ ตารางวา เขตพื้นที่บริการ หมู่ที่ ๕ (บ้านหนองสีนวล) หมู่ที่ ๑๓ (บ้านท่าอีปะ) หมู่ที่ ๑๗ (บ้านโป่งแก)

โรงเรียนบ้านหนองสีนวล ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๙ ด้วยความร่วมมือของชุมชนที่เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ต้องการให้บุตรหลานมีความรู้อ่านออกเขียนได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ ในการก่อสร้างอาคารเรียนและได้รับการบริจาคที่ดิน จำนวน ๑๙ ไร่ ๒ งาน ๒๑ ตารางวา จากนายปาน ตาเสน โดยการติดต่อประสานงานกับทางจังหวัดของ ผู้ใหญ่หนู อินทร์วิเชียร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๕ พระถนอม จนทสโร เจ้าอาวาสวัดหนองสีนวล และนายเอื้อม อินโท ศึกษาธิการอำเภอจอมบึง ดำเนินการ ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดทำการสอน เดือนสิงหาคม ๒๔๙๙ เพื่อเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้านตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา โดยทางจังหวัดได้แต่งตั้งนายทองย้อย โกญจนาจ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่เป็นคนแรก ได้ตั้งชื่อโรงเรียนแห่งนี้ว่า โรงเรียนบ้านหนองสีนวล เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ ต่อมาได้เปิดขยายการศึกษาภาคบังคับจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ตามหลักสูตรประถมศึกษา ๒๕๒๑ ทางราชการได้บรรจุแต่งตั้งครูมาดำรงตำแหน่งเป็นระยะเรื่อยมาจนครบชั้นเรียน

ปัจจุบันมีอาคารเรียน แบบ ป.๑ก ขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวน ๒ หลัง แบบ สปช. ๑๐๒/๒๖ ขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง บ้านพักครู ๔ หลัง อาคารอเนกประสงค์ ๑ หลัง ส้วม ๓ หลัง ขนาด ๘ ที่ จำนวนข้าราชการครู ๕ คน ( ชาย ๑ คน หญิง ๔ คน) นักเรียน ๗๔ คน (ชาย ๓๖ คน หญิง ๓๘ คน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต ๑

โรงเรียนบ้านหนองสีนวล วิสัยทัศน์ / ปรัชญา

โรงเรียนน่าอยู่ ควบคู่คุธรรม ส่งเสริมกิจกรรม วัฒนธรรมการไหว้

พันธกิจ / เป้าประสงค์

1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเบื้องต้นตามหลักสูตรสถานศึกษา
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะทางด้านการแสดงออก
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา
5 . ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ

เป้าหมาย

1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ละภูมิใจในความเป็นไทย
2. ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้และมีประสบการณ์สอดคล้องตามหลักสูตรสถานศึกษา
3. โรงเรียนจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
4. โรงเรยีนมีการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ผลิตสื่อได้อย่าง

กิจกรรมโรงเรียน
นานาสาระ

เรื่อง อนาคตของสหรัฐอเมริกาภายใต้โจ ไบเดน

น่าจะเป็นที่แน่นอนแล้วว่าโจ ไบเดนและกามาลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครตคือประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนต่อไป โดยผลการนับคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่ผ่านมาน่าจะเป็นตัวเลขที่ถูกต้องและได้รับการรับรองแล้ว สำหรับ Electoral Vote ไบเดนได้ 306 คะแนน ส่วนทรัมป์ได้ 232 คะแนน ส่วน Popular Vote ไบเดนได้เสียง 51.0 เปอร์เซ็นต์ส่วนทรัมป์ได้ 47.2 เปอร์เซ็นต์ แม้โดนัล ทรัมป์จะพยายามที่จะใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ในการพลิกผลการเลือกตั้งกลับมาป็นผู้ชนะแต่ดูเหมือนว่ามันจะเป็นไปไม่ได้แล้ว 

โดยทรัมป์ยังคงไม่ยอมรับความพ่ายแพ้และไม่ยอมแสดงความยินดีกับผู้ชนะจนได้รับการตำหนิในสังคมอเมริกันว่าว่าเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ไร้มารยาทมากที่สุดในประวัติศาสตร์ สิ่งที่นานาชาติจะต้องวิเคราะห์ต่อไปคือประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศยักษ์ใหญ่จะดำเนินนโยบายต่อไปอย่างไรทั้งนโยบายเศรษฐกิจ นโยบายการเมือง นโยบายต่อจีนและนานาชาติ การรับมือกับการระบาดของไวรัสโควิด -19 และนโยบายเรื่องการดูแลสภาพแวดล้อมของโลก

ภายใต้การบริหารประเทศของโจ ไบเดนและพรรคเดโมแครต ไม่ว่าสหรัฐอเมริกาจะขยับตัวไปทางไหนก็ย่อมส่งผลกระทบกับประเทศอื่นๆทั้งโลก และที่จะต้องติดตามเพื่อปรับตัวตั้งรับนโยบายต่างๆของสหรัฐอเมริกาในข่วงเวลาสี่ปีนับจากวันนี้ไป นโยบายภายในประเทศ ทางด้านการเงิน สหรัฐอเมริกาจะเก็บภาษีจากคนรวยมากขึ้นเพื่อนำเงินมาใช้เพิ่มสวัสดิการสาธารณะให้กับคนระดับชั้นกลางและคนชั้นล่าง เพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คิดภาษีมรดกด้วยวิธีการใหม่ เพิ่มภาษีบุคคลธรรมดาที่มีรายได้สูง เพิ่มภาษีนิติบุคคล ยกเลิกการสนับสนุนด้านภาษีกับธุรกิจน้ำมันและก๊าซ ทางด้านสุขภาพ ลดอายุของผู้มีโอกาสเข้าสู่ระบบสวัสดิการทางการแพทย์จาก 65 ปีลงเหลือ 60 ปี ทางด้านการศึกษา 

สนับสนุนให้สิทธิ์เรียนฟรีและผ่อนผันในการกู้เงินเพื่อการศึกษามากขึ้น ทางด้านพลังงานสหรัฐอเมริกาจะสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานสะอาดโดยโดยปรับปรุงอาคารสูงและบ้านพักอาศัยหลายล้านแห่งให้รองรับการใช้พลังงานสะอาดโดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งในการปรับปรุงอาคารบ้านเรือนให้ประชาชน เพิ่มการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์และลม สร้างสถานีชาร์ตพลังงานไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เรื่องการจัดการกับไวรัสโควิด -19 จะจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบเชื้อทั่วประเทศ จัดวัคซีนฟรีให้กับประชาชนทุกคนและสนับสนุนให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยป้องกันตัวเองในที่สาธารณะ

 นโยบายด้านต่างประเทศจะให้การสนับสนุนความร่วมมือและเจรจาด้านต่างๆกับชาติพันธมิตรมากขึ้นต่างจากนโยบาย ”อเมริกาต้องมาก่อน” สมัยของประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ที่เป็นการโดดเดี่ยวตัวเอง และจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดีและความร่วมมือกับชาติพันธมิตรทั้งหลายโดยเฉพาะนาโต้ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งน่าจะรวมถึงความสัมพันธ์กับประเทศไทยของเราด้วย ทางการค้าระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาจะหันไปใช้นโยบายแบบเสรีนิยมและใช้การเจราจาแบบ  พหุภาคีที่เน้นการร่วมมือกันมากกว่านโยบายทวิภาคีที่ใช้ในสมัยประธานาธิบดีทรัมป์

 โดยสหรัฐอเมริกาจะผ่อนคลายทางการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกาน่าจะส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกมากขึ้นโดยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์รวมทั้งกลับเข้าร่วมในข้อตกลงปารีสซึ่งเป็นสัญญาความร่วมมือภายใต้สหประชาชาติว่าด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อมโลก หลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์นำสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกมา ทางด้านประเทสอิหร่าน สหรัฐอเมริกาจะผ่อนคลายมาตรการการคว่ำบาตรต่ออิหร่านเพื่อคลายความกดดันไม่ให้อิหร่านกลับไปหากิจกรรมทางนิวเคลียร์อีก 

และยังคงนโยบายการยุติการสู้รบที่ยืดเยื้อในอาฟกานิสถานและอิรักเช่นเดียวกับสมัยทรัมป์ สำหรับนโยบายต่อ รัสเชีย สหรัฐอเมริกาน่าจะกลับไปมีท่าทีแข็งกร้าวและพร้อมตอบโต้รัสเชียอีกครั้ง เป็นผลมาจากการที่รัสเชียเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาและการให้การสนับสนุนกลุ่มตาลีบันเพื่อโจมตีสหรัฐในอาฟกานิสถาน สำหรับนโยบายต่อจีน สหรัฐอเมริกายังคงความแข็งกร้าวต่อจีนสำหรับความก้าวร้าวทางเศรษฐกิจอยู่ แต่จะเพิ่มความร่วมมือกับจีนทางด้านอื่นมากขึ้นเพื่อดึงจีนกลับมาเป็นแนวร่วมระหว่างประเทศ สหรัฐต้องการกอบกู้ความเป็นผู้นำโลกขึ้นมาอีกครั้งหลังจากตกต่ำลงในสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ ทางด้านการค้าสหรัฐอเมริกาน่าจะผ่อนคลายทางการค้ามากขึ้น

โดยใช้การค้าในแบบเสรีนิยมและหันไปใช้นโยบาย “Buy American” รณรงค์ให้ประชาชนใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศของมากกว่าการกีดกันการค้าด้วยมาตรการทางภาษี แต่อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็คงจะต้องให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของชาติตนก่อนเหมือนเดิม ในทางการเมืองระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาจะให้ความสำคัญกับแนวทางประชิปไตยแบบเสรีนิยมและให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

ประเทศไทยเราคงได้รับผลกระทบที่เกิดจากนโยบายของสหรัฐอเมริกาต่อจีนด้วย เพราะในระยะหลังไทยมีความสำพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจกับจีนมากขึ้นด้วยความร่วมมือของโครงการ One Belt One Road ของจีนและ EEC ของไทย หากสหรัฐอเมริกามีนโยบายผ่อนคลายทางการค้ากับจีนมากขึ้นโดยไม่กีดกันทางการค้าเหมือนสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ ก็น่าจะมีผลดีกับไทยทั้งการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐอเมริกาโดยตรงและในสถานะที่ไทยเป็นหนึ่งในห่วงโช่ทางการค้าของจีน ซึ่งนโยบายผ่อนคลายทางการค้าจะทำให้ไทยได้รับอานิสงค์จากนโยบายนี้ด้วยจากการขายสินค้าที่เป็นวัตถุดิบไปยังจีนและประเทศผู้ผลิตอื่นๆได้มากขึ้น 

สิ่งที่ประเทศไทยจะต้องให้ความระมัดระวังมากคือจุดยืนของประเทศไทยในความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและจีนโดยไทยจะต้องสร้างสมดุลในความสัมพันธ์กับประเทศยักษ์ใหญ่ทั้งสองอย่างเหมาะสม โดยไม่เอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือผลักไสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกห่างมากเกินไปเนื่องจากไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนจับจ้องอยู่เพื่อสร้างศักยภาพของตนในภูมิภาคนี้

การที่สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับนโยบายประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนมากขึ้นอาจเป็นผลให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองในประเทศไทยมากขึ้นกว่าเดิมที่เคยทำเช่นนี้มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา การแทรกแซงทางการเมืองเป็นนโยบายหลักอย่างหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาดำเนินการกับประเทศต่างๆทั่วโลกหลายประเทศทั้งในอดีตและปัจจุบัน สิ่งที่ประเทศไทยจะต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษคือการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาในการให้เงินทุนแก่เอ็นจีโอและตัวแทนของตนเพื่อเข้าแทรกแซงทางกฏหมายรวมทั้งสนับสนุนกลุ่มต่างๆ

ในการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายในบ้านเมืองโดยแอบแฝงเป้าหมายในการลดอำนาจและความน่าเชื่อของสถาบันพระมหากษัตริย์โดยอ้างความเป็นประชาธิปไตยสากลเพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการ ทั้งๆที่ในอดีตที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาก็เคยให้ผลตอบแทนกับรัฐบาลเผด็จการของไทย แลกเปลี่ยนกับการใช้ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ในสงครามเวียดนามมาแล้ว ดังนั้นนโยบายด้านประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นได้เพียงภาพลวงตาของการแสวงผลประโยชน์ด้านอื่นของตน

ข่าวประชาสัมพันธ์