โรงเรียนบ้านหนองสีนวล

หมู่ 5 บ้านหนองสีนวล ต.ด่านทับตะโก อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

032 228642

ที่มาของกล้วยแขก ทอดไม่ยากอย่างที่คิด

ที่มาของกล้วยแขก ทอดไม่ยากอย่างที่คิด

ที่มาของกล้วยแขก

 

 

 

ที่มาของกล้วยแขก ทอดไม่ยากอย่างที่คิด หรือกล้วยทอด ซึ่งอาจเรียกว่าขนม หรืออาหารก็ได้ ไม่ว่ากัน เป็นของทอดที่สายทอดนิยมกันมาก ซึ่งอาจรวมถึง มันทอด เผือกทอด หรือข้าวเม่าทอดด้วยก็ได้ซึ่งก็เป็นอาหารหรือขนมทอดเหมือนกัน การทอดกล้วยแขกไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรมากไม่ต้องกังวลให้ยุ่งยาก เพราะมีขั้นตอนที่ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด แม่ค้าตามแผงลอย หรือรถเข็นก็ทำได้ อาจมีตำราหรือสูตรลับอยู่บ้างก็เฉพาะแป้งที่ชุบกล้วยเท่านั้น แต่ก็คงไม่ยากถ้าจะทำ เราเองก็มีเทคนิกการทอดกล้วยแขกเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝาก 3 วิธีด้วยกัน เป็นการทอดกล้วยแขกให้หอมอร่อย ไปดูกันเลย

  1. เลือกกล้วยดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว ไม่ว่าจะมีสูตรทอดที่ดีอย่างไร หากเลือกกล้วยไม่ดีหรือกล้วยไม่อยู่ในวิถีของการกินแล้วก็ล้มเหลวตั้งแต่แรก ฉะนั้นการเลือกกล้วยจึงเป็นเค็ดลับที่สำคัญที่สุด การเลือกกล้วยไม่ใช่เรื่องกล้วย ๆ ต้องเลือกให้เป็นและให้อยู่ในระดับที่สุกพอดี ที่สุกแบบอมเขียวหน่อย ๆ หรือเลือกกล้วยที่กำลังห่ามพอดีนั้นเอง เนื่องจากถ้าเลือกกล้วยสุกมากเกินไปเวลาทอดจะอมน้ำมันและไม่สวย สำหรับกล้วยดิบ ก็จะออกรสชาติที่ฝาดและกระด้างเวลาเคี้ยว ไม่ใช่ลักษณะที่ดีของกล้วยทอด หรือกล้วยแขก
  2. ความหอมของกล้วยแขกคือเคล็ดลับสุดยอด เป็นไม้เด็ดในการขาย ขนมหวานหรือของทอดถ้าไม่มีกลิ่นหอมแล้วละก็เป็นอันว่าหมดคุณค่า ไม่ใช้ของอร่อยอย่างแน่นอน ดังนั้นความหอมของกล้วยแขกก็ไม่ต่างกัน ควรเลือกน้ำมันทอดเป็นอันดับแรก ที่นิยมได้แก่น้ำมันมะพร้าว แต่หากหอมยังไม่พอเพราะยังหอมไม่ถึงใจต้องการกลิ่นหอมให้มากขึ้น ก่อนลงกล้วยควรนำใบเตยหั่นเล็ก ๆ ลงทอดด้วย ก็จะได้ความหอมที่สะใจแน่นอนวัยโจ๋แน่นอน ทอดเสร็จแล้วก็อย่างลืมตักใบเตยที่ทอดแล้วทิ้งด้วยล่ะ
  3. ทอดให้ได้ดังใจ ระยะเวลาการทอดเป็นเคล็ดลับ หรือจะเรียกว่าเทคนิคอีกอย่างหนึ่งก็ได้ และเชื่อซิสำคัญมาก ควรจับเวลาในการทอดให้ดีหรืออาจกะประมาณเอาก็ได้ ถ้ามีความชำนาญพอ แต่ขอบอกว่าไม่ควรเกิน 20 นาทีหรือระหว่าง 15-20 นาทีเป็นดีที่สุดในการทอดแต่ละครั้ง โดยให้สังเกตและจดจำดูที่สีของแป้งที่ชุบกล้วยให้ดี ควรให้มีสีเหลืองได้ที่ก็แสดงว่าสุกประมาณ 90-95% แล้ว ให้ยกขึ้นแล้วพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมันก่อน 

การเรียกกล้วยทอดว่ากล้วยแขกมีที่มาดังนี้

ประวัติความเป็นมาของกล้วยทอดหรือกล้วยแขก ซึ่งเป็นอาหารหรือขนมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช คำว่าแขกมีความหมายว่าแปลก หรือผู้ที่ไม่คุ้นเคย อาหารก็เช่นกันถ้าไม่เป็นที่คุ้นเคยก็มักจะเรียกว่าของแปลก อาหาราชนิดนี้เป็นอาหารหรือขนมของคนอิสลาม เนื่องจากคนอิสลามจะมีความคุ้นเคยและรู้เรื่องขนมหรืออาหารทอดเป็นอย่างดี แต่ก่อนการทอดมิได้เป็นวิธีทำอาหารของคนไทยมาแต่ดั่งเดิม โดยเฉพาะการทอดด้วยแป้งผสมน้ำและมีการใส่เครื่องเทศประเภทเมล็ดหรือมะพร้าวรวมทอดไปด้วย จึงเป็นของแปลกสำหรับคนไทย รวมเรียกว่ากล้วยแปลก แล้วเพี้ยนมาเป็นกล้วยแขกตามที่ทุกคนรู้จัก เป็นของว่าสำหรับกินเล่นของคนไทย มีรสชาติอร่อย เป็นอาหารหรือขนมของคนไทยแม้จะมีชื่อว่ากล้วยแขกก็ตาม

กล้วยแขกมีมาแต่ครั้งโบราณ จนมาถึงปัจจุบันไม่ได้อร่อยเฉพาะกล้วยที่ชุบแป้งทอดเท่านั้นแม้แต่กากแป้งที่ตกอยู่ก็อร่อยและกรอบเคี้ยวได้ดีเช่นกัน กล้วยแขกไม่ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นกล้วยไทยแต่อย่างไร เนื่องจากไม่มีเรื่องชาตินิยมเขามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ก็คงยังเป็นกล้วยแขกอยู่เช่นเดิม และไม่มีการจดลิขสิทธิ์กล้วยแขกเสียด้วย ดังนั้นไม่ว่าใครก็สามารถที่จะทอดกล้วยแขกขายได้ไม่ถือว่ามีความผิด เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่เมื่อไม่นานมานี้กล้วยแขกได้มีคู่แข่งเกิดขึ้นเสียแล้ว เป็นของคนมลายูมีการทอดขายอยู่แถว ๆ เกาะปีนัง มาเลเซีย อินโดนีเซีย

และสิงคโปร โดยใช้ชื่อว่า “ปีซัง โกเร็ง” (Pisang Goreng) เห็นแล้วก็ไม่ผิดไปจากกล้วยแขกบ้านเราเลย เป็นอาหารว่างของคนมาเลเซีย ส่วนใหญ่จะกินตอนเช้า และบ่าย ส่วนกล้วยที่นำมาใช้ก็จะเป็นกล้วยนางพญาหรือกล้วยน้ำว้า ซึ่งมีอยู่มากในมลายูเรียกว่า ปีซัง รายา (Pisang Raja) วิธีทอดจะไม่เหมือนกล้วยแขกบ้านเรา คือ จะชุบแป้งทอดทั้งลูกแล้วตักขึ้นไว้ให้เย็นก่อนที่จะชุบแป้งอีกครั้งแล้วนำลงทอดใหม่อีกที ปีซัง โกเร็งจึงไม่ผิด

ไปจากกล้วยทอดหรือกล้วยแขกของบ้านเราแต่อย่างไร กล้วยสามารถปลูกได้ในแถบร้อนชื้นดังนั้นทั้งประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านจึงปลูกได้ไม่มีข้อจำกัด กล้วยเป็นพืชท้องถิ่น ไม่เหมือนมะละกอ และมันเทศที่ต้องมีการนำเข้ามาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยชาวโปรตุเกส คนมลายูเรียกกล้วยว่า ปิซัง แรก ๆ จะบริโภคเมื่อกล้วยสุก ไม่มีการนำมาปรุงแต่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 1511 ชาวโปรตุเกสได้นำกล้วยมาชุบแป้งแล้วลงทอด เพื่อใช้เป็นอาหารเช้า คนมลายูเห็นว่าเข้าทีจึงได้ทำตาม และนิยมกินกันทั่วไปไม่ว่าคนมีคนจนกลายเป็นอาหารพื้นบ้านตั้งแต่นั้นมา กล้วยทอดหรือ ปิซัง โกเร็งของคนมลายูก็กลายเป็นอาหารกินเล่นทั้งมื้อเช้า และมื้อบ่ายไปแล้ว 

สำหรับกล้วยแขกในบ้านเรามีการขายกันอยู่ทั่วไปทั้งริมฟุตบาทข้างถนน จนกระทั้งในห้างใหญ่ หรือในศูนย์อาหารมีราคาที่พอจะหยิบจับกันได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในตลาดทั้ง ๆ ที่แต่เดิมเป็นอาหารหรือขนมของคนอินเดียมาก่อน ซึ่งได้กล่าวแล้วว่าคนอินเดียถนัดปรุงอาหารประเภททอดเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่า ทั้งกล้วยทอด ถั่วทอด และมันทอดก็เป็นอาหารที่มาจากอินเดียทั้งสิ้น แตกต่างจากอาหารหรือขนมไทย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีต้ม ปิ้ง ย่าง เช่น กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง หรือขนมกล้วยเป็นต้น ซึ่งบ้างก็ว่าขนมดังกล่าวมีที่มาจากชาวโปรตุเกต ซึ่งก็ยังถกเถียงกันไม่จบ แต่ที่แน่ ๆ ไม่ว่าจะมาจากที่ไหนไทยก็ได้ประโยชน์ทั้งสิ้น และเด็กรุ่นใหม่ก็ได้ชิมมาแล้วทั้งสิ้น ทั้งกล้วยแขก กล้วยบวชชี รวมทั้งกล้วยปิ้งอีกต่างหาก ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามีรสชาติที่ถูกปากอย่างยิ่ง ที่มาของกล้วยแขก ทอดไม่ยากอย่างที่คิด

โรงเรียนบ้านสีนวล